ครอบครัวคณิตศาสตร์

ครอบครัวคณิตศาสตร์

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 9






บุคคลที่คุณคิดว่าเป็นผู้นำในทัศนคติของคุณ

ปราชญ์ชาวบ้าน

ประยงค์ รณรงค์



ประวัติส่วนตัว
วัน เดือน ปีเกิด วันที่ 24 สิงหาคม 2480 สถานที่เกิด บ้านเลขที่ 47 หมู่ที่ 5 ต.นากะชะ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช บิดา มารดา นายห้วง นางแจ้ง รณรงค์ มีพี่น้องรวม 6 คน
นายประยงค์ รณรงค์
นายประยูร รณรงค์
นางเกษร รัตนะ
นายวิโรจน์ รณรงค์
นายปรีชา รณรงค์
นายเชาวลิต รณรงค์
คู่สมรส ภรรยาชื่อ นางแนบ รณรงค์ มีบุตร ธิดา รวม 5 คน
นายเนาวรัตน์ รณรงค์
นายนรินทร์ รณรงค์
นางจริยา โชคประสิทธิ์
นายสาธิต รณรงค์
นาวสาวสุนิสา รณรงค์
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 51 หมู่ 9 ต.ไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช 80260 โทรศัพท์ 0819560865 อาชีพ อาชีพหลัก ทำสวนยางพารา อาชีพรอง ทำสวนผลไม้ (สวนสมรม) อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ (ปลา,ไก่พื้นเมือง)
การศึกษา
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านนาเส ม.5 ต.นากะชะ อ.ฉวาง
ประวัติการศึกษาและการศึกษาดูงาน
-ศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ปี พ.ศ. 2528 เป็นเวลา 12 วัน
-ศึกษาดูงานด้านสหกรณ์ อุตสาหกรรมชุมชน และเกษตรกรรม ในประเทศฝรั่งเศส – เยอรมนี - เบลเยี่ยม ในปี พ.ศ.2534 เป็นเวลา 30 วัน
-ศึกษาดูงาน “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” จังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ.2544 เป็นเวลา 4 วัน
-ร่วมคณะสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ลาว กัมพูชา ปี พ.ศ.4545 เป็นเวลา 3 วัน
-ศึกษาดูงานในประเทศฟิลิปปินส์ ขณะเดินทางไปรับรางวัลรามอน แมกไซไซ ปี พ.ศ.2547 เป็นเวลา 7 วัน
-ศึกษาดูงาน ณ ประเทศภูฏาน ปี พ.ศ.2549 เป็นเวลา 5 วัน
ผลงาน
พ.ศ.2530 ผู้นำอาชีพก้าวหน้าของกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.2537 คนดีศรีสังคม
พ.ศ.2540 เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมไทย
พ.ศ.2544 ได้รับการยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1 ของ สกศ.
ประสบการณ์การทำงาน
ปี พ.ศ.2527 เป็นผู้นำการก่อตั้งกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางตำบลไม้เรียง
ปี พ.ศ.2530 - 2534 เป็นผู้จัดการกลุ่มเกษตรทำสวนยางไม้เรียง
ปี พ.ศ.2535 - 2547 เป็นประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางไม้เรียง
ปี พ.ศ.2535 - ปัจจุบัน เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง
ปี พ.ศ.2536 เป็นประธานเครือข่ายยมนา (ยาง,ไม้ผล,นาข้าว)
ปี พ.ศ.2539 เป็นผู้นำจัดทำแผนแม่บทชุมชนไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
ปี พ.ศ.2540 เป็นผู้นำจัดทำแผนแม่บทการพัฒนายางพาราไทย ฉบับประชาชน
ปี พ.ศ.2541 – 2545 เป็นกรรมการบริหารกองทุนเพื่อสังคม (SIF)
ปี พ.ศ.2541 – 2547 เป็นประธานบริษัทเครือข่ายผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (วิสาหกิจชุมชน)
ปี พ.ศ.2544 – 2546 เป็นกรรมการบริหารโครงการเกษตรกรรมยั่งยืน (DANCED)
ปี พ.ศ.2544 – 2547 เป็นอนุกรรมการประสานงานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
ปี พ.ศ.2544 – ปัจจุบัน เป็นกรรมการบริหารวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.)
ปี พ.ศ.2546 – ปัจจุบัน เป็นกรรมการมูลนิธิหมู่บ้าน
ปี พ.ศ.2547 – ปัจจุบัน เป็นกรรมการมูลนิธิสถาบันพัฒนาทรัพยากรชุมชน
ปี พ.ศ.2548 เป็นประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยผู้นำชุมชนท้องถิ่น สำนักนายกรัฐมนตรี
ปี พ.ศ.2549 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คณะกรรมการสมานฉันท์)
ปี พ.ศ.2549 ได้รับการแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (กรรมาธิการการเกษตร ฯลฯ)

ประวัติเกียรติคุณที่ได้รับ
1.รางวัลผู้นำอาชีพก้าวหน้า โดยคณะกรรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ.2530
2.รางวัลคนดีศรีสังคม โดยคณะกรรมการคัดเลือกคนดีศรีสังคม ปี พ.ศ.2537
3.รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี พ.ศ.2540
4.รางวัลครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1 โดยสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2544
5.ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (รัฐศาสตร์) ม
หาวิทยาลัยรามคำแหง
6.รางวัลแมกไซไซ สา











ขาผู้นำชุมชน จากมูลนิธิรามอน แมกไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์ ปี พ.ศ.2547
7.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ ปี พ.ศ.2547
8.ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
9.ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10.ปริญญาพัฒนาชุมชนดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ.2548
11.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ.2548
12.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ปี พ.ศ.2548
13.ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศึกษา)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ปี พ.ศ.2549
14.ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี พ.ศ.2549
15.รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2549
16.ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 48 ปี พ.ศ. 2549
17.เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร ง ภ. ท ช.
18.ปี 2552 รางวัล ปราชญ์ของแผ่นดิน สาขาพัฒนาชุมชนและเครือข่าย

แนวคิดสำคัญ
การพัฒนาอาชีพ ทำสวนยางพาราแนวคิด สวนยางพาราเป็นอาชีพหลักของคนภาคใต้และภาคตะวันออก แต่ระยะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมาชาวสวนยางพารายังมีปัญหาความยากจนเหมือนกับเกษตรกรในภาคการผลิตอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างจากพ่อค้าที่รับซื้อผลผลิตไม่กี่ปีก็ร่ำรวย เพราะเกษตรกรทำเพียงขั้นตอนการผลิตซึ่งมีความสี่ยง เนื่องจากผลผลิตขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ ราคาขึ้นอยู่กับตลาดโลก ความมั่นคงขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐ ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถกำหนดอะไรได้เลยวิธีทำ นำเสนอแนวคิด สรุปประสบการณ์ ทบทวนปัญหาตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์อนาคต ก็พบว่าปัญหาอยู่ที่การจัดการ เพราะเกษตรกรได้มอบการจัดการให้ตกอยู่ที่คนอื่นทั้งหมด คือการกำหนดคุณภาพ กำหนดน้ำหนัก กำหนดราคา มอบให้พ่อค้าหรือผู้ซื้อเป็นผู้กำหนด จึงมีปัญหามาตลอดจากข้อสรุปข้างต้น จึงทำให้ชาวสวนยางที่ชุมชนไม้เรียงกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งตัดสินใจร่วมกันที่จะวางแผนสร้างแนวทางแก้ปัญหาให้กับตัวเอง ตั้งแต่ระบบการผลิต การแปรรูป การจัดการด้านการตลาด โดยการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรทำสวนไม้เรียง สร้างโรงงานแปรรูปน้ำยางสด เป็นยางแผ่นอบแห้ง และยางแผ่นรมควัน ตามความต้องการของตลาดตั้งแต่ ปี พ.ศ.2527 จนถึงปัจจุบันเป้าหมาย เป็นการจัดการทรัพยากรของชุมชนเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มลดขั้นตอนที่เป็นภาระและค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก แก้ปัญหาต่าง ๆ ในการประกอบอาชีพ ใช้องค์กรเป็นเครื่องมือในการจัดการเพื่อการพึ่งตนเอง พึ่งพาอาศัยกันในระบบเครือข่าย
การจัดการเรียนรู้ในชุมชน
แนวคิด ชุมชนไม้เรียงได้พัฒนาอาชีพหลัก คือ การทำสวนยางพารา มีความก้าวหน้าจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่พบว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง เพราะวิถีชีวิตของคนในชุมชนไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหลายเรื่อง การแก้ปัญหาเรื่องยางอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ปัญหาอื่นหมดไปด้วย ปัญหาหลายเรื่องเกิดจากคนในชุมชนขาดความรู้ จึงไม่มีความสามารถในการการแก้ปัญหา ป้องกันปัญหา และพัฒนาสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ การทำในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้จริง ปัญหาที่ตามมาคือความไม่สำเร็จ การล้มเหลวแต่ละครั้งทำให้เกิดเป็นหนี้เพิ่ม เกิดความท้อแท้ และหมดกำลังใจในที่สุดวิธีทำ จัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2535 เพื่อต้องการศึกษาวิจัยปัญหาและข้อขัดข้องต่าง ๆ ตลอดถึงสาเหตุ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จัดทำข้อมูลรายละเอียดที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีผลกระทบอยู่ในปัจจุบันเป้าหมาย เพื่อให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาต้องการจะรู้และให้เขาได้เรียนรู้ในสิ่งที่ควรจะรู้เพราะพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นเพราะคนในชุมชนทำในสิ่งที่ตนเองยังไม่มีความรู้ จึงประสบกับปัญหาและขาดวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม ในที่สุดก็ไม่ประสบความสำเร็จศูนย์การศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงจึงเน้นให้ทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการจะรู้ เพราะต้องรู้ในสิ่งที่ต้องการจะทำ และทำในสิ่งที่รู้แล้วเท่านั้นจึงจะสำเร็จ จึงทำให้ศูนย์การศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้น มีหลักสูตรที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน ด้วยการสร้างความร่วมมือกันหลายฝ่าย โดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงเป็นฐานหลัก ร่วมด้วยหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ การศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เทศบาลตำบลไม้เรียง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักงานพลังงานแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นต้น จัดการเสริมการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี
การจัดทำแผนแม่บทชุมชน
แนวคิด จากประสบการณ์ที่ชุมชนได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนายางพาราไทย ซึ่งคิดว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เพราะเป็นเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในกลุ่มอาชีพการทำสวนยาง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง รู้จริง ทำได้จริง จึงมีความมั่นใจมากขึ้นแผนแม่บทชุมชนจึงเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ทำให้คนในชุมชนมาเรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้เรื่องตัวเอง เรียนรู้เรื่องผลกระทบจากภายนอก (เรียนรู้โลกภายนอก) ผลของการเรียนรู้ได้ข้อสรุป นำข้อสรุปมากำหนดเป็นแผนปฏิบัติเพื่อนำไปสู่เป้าหมายร่วมกัน มีแนวทางในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แนวทางป้องกันปัญหาที่คาดว่าจะขึ้นในอนาคต มีแนวทางในการพัฒนาให้เกิดสิ่งดี ๆ ขึ้นใหม่ในเวลาเดียวกันวิธีทำ เริ่มต้นจากการค้นหาผู้นำ ให้ได้ผู้นำที่ได้รับการยอมรับ อาจจะเป็นผู้นำที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ (ผู้นำธรรมชาติ) ที่สำคัญจะต้องเป็นบุคคลที่ชาวบ้านยอมรับนับถือ เป็นที่ปรึกษาของคนในชุมชนอย่างน้อยหมู่บ้านละ 5 คน มาเป็นคณะทำงาน จัดประชุมสัมมนาพูดคุย ทำความเข้าใจร่วมกัน แล้วไปช่วยกันขยายผลในหมู่บ้านของตนเอง พร้อมด้วยทำข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำมาวิเคราะห์ให้ได้ทิศทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายในการแก้ปัญหา ป้องกันปัญหา และการพัฒนาร่วมกัน เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลักภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป้าหมาย ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า แผนแม่บทชุมชนคือเครื่องมือของการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน ผลของการเรียนรู้ที่ได้ข้อสรุปร่วมกันคือเป้าหมายของการพัฒนา การมีแผน มีเป้าหมาย มีขั้นตอนที่ชัดเจน เป็นการป้องกันความอยากหรือความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของมนุษย์ เพราะความอยากไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีขอบเขต ไม่มีเหตุผล การมีแผนคือมีเป้าหมาย มีเหตุผลรองรับทางความคิด มีเหตุผลของการตัดสินใจได้ข้อสรุปร่วมกัน ยอมรับร่วมกัน เพราะผลที่จะเกิดการพัฒนาเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ต้องอยู่ที่การนำแผนลงสู่การปฏิบัติ การยอมรับร่วมกันก็จะเกิดความร่วมมือในการปฏิบัติ ผลการปฏิบัติจึงเกิดการแก้ปัญหา ป้องกันปัญหา และเกิดการพัฒนาในที่สุด จากการยอมรับในวงกว้างจึงผลักดันเป็นนโยบายได้
การจัดองค์กรที่เหมาะสมของชุมชน
แนวคิด การทำแผนแม่บทชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และสามารถนำไปใช้ได้หลายระดับ เช่นในระดับครอบครัวก็ให้แต่ละครอบครัวได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในแผนฯ เพื่อนำไปแก้ปัญหาและพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของแต่ละครอบครัว แต่ถ้าหากกิจกรรมใดที่ต้องร่วมกันทำก็มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างองค์กรขึ้นมาเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ร่วมกัน เพราะองค์กรของชุมชนที่จัดตั้งขึ้นโดยชุมชน เป็นเครื่องมือที่ดีที่ใช้แก้ปัญหาที่ใหญ่เกินกว่าที่แต่ละครอบครัวจะแก้ได้วิธีทำ คำว่า “องค์กร” มีหลายระดับ แต่จะขอกล่าวถึงองค์กรของชุมชนไม้เรียงเป็นหลัก เฉพาะองค์กรของชุมชนไม้เรียงมีอยู่ 2 ระดับ คือ องค์กรบริหาร ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ที่ครอบคลุมกิจกรรมกว้างขวาง ทำหน้าที่บริหารอย่างเดียว เช่น “ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง” โดยมีกิจกรรมย่อยอยู่ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ฯ หลายกิจกรรม องค์กร “การจัดการ” ซึ่งเป็นองค์กรย่อยจัดการเฉพาะกิจกรรมโดยตรง เช่น กลุ่มเกษตรกรทำสวนไม้เรียง เป็นต้น องค์กรย่อยอาจจะมีรูปแบบการจัดการที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม เช่น ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับประโยชน์ ร่วมกันรับผิดชอบ หรือบางองค์กรร่วมกันคิด ร่วมกันเรียนรู้ แยกกันทำ รวมกันขาย บางองค์กรก็ใช้วิธี ร่วมกันคิด ร่วมกันเรียนรู้ ร่วมกันลงทุน จ้างเขาทำ ร่วมกันใช้บริการ เป็นต้นเป้าหมาย ดังได้กล่าวแล้วว่า องค์กรคือเครื่องมือที่ใช้ในการบริหาร หรือใช้ในการจัดการ ฉะนั้นการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาก็ต้องเป็นองค์กรที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ๆ และต้องมีการจัดตั้งขึ้นตามความต้องการของชุมชน แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการกำหนดมาจากภายนอกให้มีการจัดตั้งขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรม หรือรองรับงบประมาณ พอหมดงบประมาณกิจกรรมก็ต้องยกเลิกไป องค์กรก็ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ซึ่งไม่ควรจะเป็นอย่างนั้นอีกต่อไปการวางระบบวิสาหกิจชุมชนแนวคิด จากการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ซึ่งต้องมีการจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมทุกด้านพบว่า เกษตรกรในชนบทเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรมากมาย ที่เรียกว่าทุนของชุมชน แต่ก่อนคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า คำว่า “ทุน” หมายถึงเงินเท่านั้น แท้ที่จริงชุมชนมีทุนที่ไม่ใช่เงิน แต่คุณค่ามากกว่าเงินมากมาย เช่น ทุนที่เป็นทรัพยากร ผลผลิต ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางภูมิปัญญา และทุนทางสังคมอื่น ๆ อีกมากมาย น่าจะเป็นจุดแข็งของชุมชน แต่ปรากฏว่าชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดส่วนที่สำคัญคือ “ความรู้ในการจัดการทุน” จึงทำให้คนภายนอกชุมชนเป็นเป็นผู้เข้ามาจัดการทุนของชุมชน ผลประโยชน์ก้อนใหญ่จึงไปตกอยู่กับคนภายนอกชุมชน คนในชุมชนหรือเกษตรกรเลยเป็นเพียงเครื่องมือทางธุรกิจตลอดมา วิสาหกิจชุมชน จะเป็นเครื่องมือของชุมชนที่จะใช้จัดการทุนของชุมชนโดยชุมชนเอง เพื่อการเพิ่มมูลค่าทรัพยากร เพื่อแก้ปัญหา เพื่อการพึ่งพาอาศัยกัน สร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกร กับองค์กรของชุมชน อย่างสร้างสรรค์และเป็นธรรมวิธีทำ จัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนให้ผู้ที่สนใจ ต้องการทำในระบบวิสาหกิจชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ การทำธุรกิจในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน เรียนรู้การจัดองค์กร การสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน การคิดต้นทุน การวิเคราะห์สถานการณ์ การวิเคราะห์ตลาด การใช้ข้อมูลการใช้ประสบการณ์เสริมด้วยวิชาการ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงและสร้างความมั่นคงของกิจกรรมเป้าหมาย ความอยู่รอดของชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรหรือทุนทางสังคมอื่นๆ ร่วมมือกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการ ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายสัมพันธ์กัน ไม่ว่าชุมชนชนบท หรือชุมชนเมืองต่างก็มีจุดอ่อนจุดแข็งกันคนละอย่าง การสร้างระบบให้เกิดความร่วมมือกันได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นธรรม จะสามารถพึ่งตนเองได้ พึ่งพาอาศัยกันได้ และอยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์ ความรู้ทั้ง 5 เรื่องดังกล่าวข้างต้นซึ่งได้จากประสบการณ์โดยการปฏิบัติจริง ผ่านการทดลองและขยายผลไปสู่พื้นที่และบุคคลกลุ่มต่าง ๆ แล้วได้รับการยอมรับว่าเป็นความรู้จริงใช้ได้ทั่วไป จึงได้บันทึกไว้เป็นหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ “รวมความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิด ของชุมชนไม้เรียง” เขียนโดย ประยงค์ รณรงค์ ซึ่งรวมความรู้ทั้ง 5 เรื่องไว้ในเล่มเดียวกัน พิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนกันยายน 2546 สนับสนุนการจัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) องค์การมหาชน มอบให้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงจำหน่าย เพื่อเป็นทุนดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชนไม้เรียง เล่มที่ 2 ชื่อ “ประยงค์ รณรงค์ แมกไซไซ 2004” จัดพิมพ์โดย สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน,มูลนิธิหมู่บ้าน,มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต พิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือน สิงหาคม 2547 จำนวนหนึ่งมอบให้กับศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงจัดจำหน่าย สมทบทุนศูนย์เรียนรู้ชุมชนไม้เรียงสื่ออื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น