ครอบครัวคณิตศาสตร์

ครอบครัวคณิตศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เรื่อง ขอให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทุกคน

จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร

ให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติ่ม

ข้อดี
- การเรียนการสอนผ่านทาง weblog นั้นทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนในเวลาอันใกล้และในอนาคต
- การเรียนที่ใช้ weblog นั้นสะดวกในการได้รับคำติชมหรือการแสดงความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนหรือจากบุคคลภายนอกที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น
- weblog เป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนร่วมกัน และได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดความสามัคคีกันแลมีน้ำใจแก่ผู้อื่น
- weblog เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และดึงดูดให้ผู้เรียนได้สนใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ เพราะการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เฉพาะในตำราเรียนเท่านั้น
- weblog น่าจะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมทฤธิ์ทางการเรียนทางการเรียนดีขึ้น เพราะการเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ
- เป็นการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ และเกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
-เป็นความรู้ใหม่ที่นักศึกษาวิชาชีพสมควรศึกษา เพราะสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต /เป็นชิ้นงานหรือผลงานของตนเอง
- เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง เพราะนอกจากมีผลงานส่งอาจารย์ผู้สอนแล้ว ยังมีผลงานเผยแพร่ต่อสายตาสาธารณชนอีกด้วย

ข้อเสีย

- สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเองก็จะลำบากในการเรียนการสอนหรือการส่งงาน
- การส่งงานหรือตกแต่ง weblog นั้นต้องใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ต แต่ที่หอพักไม่ค่อยมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตเลย จึงทำให้ไม่ค่อยสะดวกในการทำงาน

           อย่างไรก็ตามกระผมคิดว่าการเรียนการสอนที่ใช้ weblog นั้นถือว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวของกระผมมากทำให้กระผมก้าวทันนวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา กระผมขอขอบพระคุณอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างยิ่งที่นำการสอน weblogมาใช้ในการสอนในครั้งนี้

วิรัช  ศรีสวัสดิ์
5011103039
      

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบ

ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน

คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
  ตอบ ข้อดีของอดีตนายกทักษิณ
1 เป็นคนที่เก่ง และฉลาด
2 เป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่มีดี มีความมั่นใจในตนเองสูง
3 เป็นคนที่คิดกว้างไกล และคิดทำงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการทำงาน
4 เป็นนายกคนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจดีในระดับหนึ่ง อาทิ ภาคใต้ยางก็จะแพง ปาล์มก็แพง เป็นต้น
5 เป็นคนรู้จักใช้กฎหมาย สร้างกฎหมาย
6 ท่านเป็นคนที่ปลดหนี้ IMS
7ท่านช่วยลดปัญหาเรื่อง “ยาเสพติดที่เกิดขึ้นภายในประเทศ”
 8ช่วยนำเสนอผลงานที่เกิดจากฝีมือของคนในท้องถิ่นให้คนต่างชาติได้รู้ ทำให้กระจายเงินให้กับคนในชนบท เช่น “OTOP”
9ช่วยทำให้ความสัมพันธ์อันดีให้กับต่างประเทศ ทำให้มีคนเข้ามาในประเทศมากยิ่งขึ้น
10ส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย

ข้อเสียของอดีตนายกทักษิณ
1. ขาดจริยธรรมและความชอบทำในการปกครองประเทศ
2. ใช้อำนาจเสียงข้างมากในการแทรกแซง ครอบครำกระบวนการนิติบัญญิติ
3. ทำลายความเป็นอิสระของสื่อมวลชน สร้างความอ่อนแอให้แก่องค์กรอิสระทำให้เหล่านั้น ทำให้องค์กรดังกล่าวขาดความน่าเชื่อถือ ในที่สุดไม่สามารถที่จะตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจในตอนที่ท่านเป็นนายกได้
4. ปล่อยให้เกิดการคอรับชั่นอย่างกว้างขวาง
5. เล่นพักเล่นพวกและเปิดโอกาสให้พี่น้องหรือครอบครัวเข้ามาหาประโยชน์จากโครงการของรัฐ อาทิ “กรณีการขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปปอเรชั่น จำกัด มหาชน
6. ใช้นโยบายหว่านเงินให้กับประชาชนในระดับรากหญ้า เพื่อสร้างความนิยมทางการเมือง
7. ขาดความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาโดยฐานรากและขาดการแก้ปัญหาโดยความสันติวิธี เช่น ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดสามชายแดนภาคใต้
8. การบริงานราชารแผ่นดินมาโปร่งใส่ไม่สามารถตรวจสอบได้
9. ไม่มีความซื่อสัตย์ ไม่มีศีลธรรม และหวังผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม
      หากข้าพเจ้าจะสอนนักเรียนให้มีความคิดที่เป็นผู้นำข้าพเจ้าก็จะสอนให้นักเรียนเป็นคนที่รู้จักคิดกว้างไกล หรือกล้าในการคิดสมัยใหม่ เป็นคนที่จะต้องมีการทำงานให้เป็นระบบ และมีการวางแผนการทำงานเสมอ เพราะการวางแผนงานนั้นเราจะรู้ว่าต้องทำงานอย่างไรบ้าง ต้องฝึกให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออกและมีความมั่นใจในตัวเอง โดยข้าพเจ้าจะสอนให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเพื่อฝึกความสามัคคี  และการเป็นฝึกการเป็นผู้นำในกลุ่มขนาดเล็ก หรือฝึกการเป็นผู้ตามที่ดี ฝึกให้ทุกคนในกลุ่มยอมรับเสียงข้างมากพร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในลุ่ม และยอมให้อภัยกับสมาชิกในกลุ่มเมื่อมีเรื่อองเข้าใจผิดกัน ตลอดจนเป็นการฝึกให้ทุกคนเห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ของส่วนตัว  และข้าพเจ้าจะสอนให้นักเรียนดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง หรือแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ในอนาคต




ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ การจัดการเรียนการสอนที่จะให้มีประสิทธิภาพนั้น ข้าพเจ้าคิดว่า จะจัดการเรียนการสอน “แบบกลุ่ม โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
    สำหรับการเตรียมการเป็นครูที่ดีนั้น ข้าพเจ้าจะเริ่มจากตัวของข้าพเจ้าเองโดย
- ต้องรักและศรัทธาในวิชาชีพครู
- ต้องฝึกตัวเองให้เป็นคนที่มีความอดทนอดกลั้น อดออม เสียสละ และโอบอ้อมอารี
- ต้องฝึกตนเองให้เป็นคนที่มีระเบียบมีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย
 ฝึกตนเองเป็นคนที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ คิดกว้างไกล โดยต้องคิดในใจเสมอว่า
- “การเรียนรู้สามารถเรียนร้ได้ตลอดชีวิต”
- ฝึกให้ตนเองมีความกระตือรือร้นในระบบการปกครองในระบบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตย์
- ฝึกให้เป็นคนมีคุณธรรมประจำใจ คือ (อิทธิบาท 4) คือ มีความเพียรพยายามในการสอน มีความพอใจต่อหน้าที่การงาน ตริตรองหรือพิจารณาหาเหตุผลของงานเพื่อให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ
- ต้องรู้จักการเขียนแผนการสอนและการเตรียมตัวการสอนล่วงหน้า
- ต้องมีความเป็นกันเองกับผู้เรียนทำให้ผู้เรียนไว้ใจ และปรึกษาผู้สอนได้ทุกเรื่อง
- ต้องฝึกให้ตนเองสามารถใช้รูปแบบการสอนที่หลากหลาย พร้อมทั้งสามารถนำมาปรับหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียน
- ต้องปรับตัวให้เข้ากับชุมชนหรือผู้ปกครองที่ข้าพเจ้าจะไปสอนที่นั้น โดยการสร้างสัมพันธ์อันดีกับบิดา มารดาและผู้ปกครองของนักเรียน ช่วยเหลือชุมชน สังคม เมื่อมีโอกาสไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม พร้อมทั้งรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมที่ดีของชุมชนเหล่านั้นไว้
       จากการที่กล่าวมาแล้วข้าพเจ้าแน่ใจว่าข้าพเจ้าจะเป็นครูที่ดีในอนาคตได้ และเป็นครูพันธ์ใหม่ที่พร้อมพัฒนาระบบการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น


ส่งงานกลุ่มที่ 8 การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

wirat srisawat

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 10

การจัดชั้นเรียนที่ดี






ความหมายของการจัดชั้นเรียน
การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน
การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน
การสร้างวินัยในชั้นเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู
การพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเรียนเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของการจัดชั้นเรียน
1. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนตลอดเวลาด้วยปัญหาด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2. นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและสิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสม อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่พฤติกรรมที่ก้าวร้าวหรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
3. การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนรู้ของผู้อื่น
4. ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ครูสามารถดำเนินการสอนได้อย่างเต็มที่โดยไม่เสียเวลากับการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน
5. การจัดการชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทรโดยคำนึงถึงกฎระเบียบของชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง นอกจากยังเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรุ้แล้วยังมีผลในระยะยาว คือ เป็นการปลูกฝั่งลักษณะนิสัยเพื่อเป็นการพลเมืองดีในอนาคตอีกด้วย

สรุปความสำคัญของการจัดชั้นเรียน
การดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อการกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา

การจัดชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
บรรยากาศการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมให้แก่นักเรียนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ทั้งทางด้นกายภาพ ได้แก่ การจัดห้องเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างหลากหลาย ตั้งแต่โต๊ะเรียน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การร่วมกันสร้างกฎกติกาของการเรียนรู้ในชั้นเรียน

การจัดชั้นเรียนให้บรรลุเป้าหมาย
ครูจะต้องดำเนินงานในสิ่งต่อไปนี้
1. การจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆในชั้นเรียน
2. การกำหนดลักษณะการเคลื่อนไหวของนักเรียนในชั้นเรียน
3. การกำหนดกฎระเบียบในชั้นเรียน
4. การเริ่มและการสิ้นสุดการสอนด้วยความราบรื่น
5. การจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนกิจกรรมในระหว่างชั่วโมงเรียน
6. การจัดการเกี่ยวกับการทำกิจกรรมของนักเรียน เริ่มจากการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจบทเรียน และขจัดอุปสรรคหรือสิ่งที่จะรบกวนให้น้อยที่สุด
7. การดำเนินงานให้การเรียนรู้เป็นไปในทางที่ครูได้กำหนดหรือวางแผนไว้
8. การดำเนินการเพื่อให้นักเรียนพัฒนาตามความต้องารของนักเรียนแต่ละคน

ปัจจัยเงื่อนไขของความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียน
- การจัดที่นั่งของนัดเรียนในชั้นเรียนเป็นอย่างไร
- ปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน หรือนักเรียนกับนักเรียนเป็นอย่างไร
- การเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องของสมาชิกในชั้นเรียนจะทำได้ในกรณีใด
- การรับรู้ถึงบรรยากาศและระเบียบวินัยในภาพรวมเป็นอย่างไร

ลักษณะของการจัดชั้นเรียนทางกายภาพที่ดี
1. มีการจัดที่นั่งในชั้นเรียนอย่างชัดเจน เพื่อใช้อเนกประสงค์และเพื่อให้นักเรียนมั่นใจในการใช้พื้นที่ว่างของตน ตัวอย่างเช่น
- บริเวณที่มีการใช้วัสดุร่วมกัน
- ที่ว่างส่วนตัวที่นักเรียนจะทำงานโดยลำพัง เช่น โต๊ะแถวของนักเรียนแต่ละคน
2. ในชั้นเรียนที่มีนักเรียนมีปัญหาทั้งด้านการเรียนและด้านพฤติกรรม อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการแยกกลุ่มออกมาอยู่ในที่ว่างมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนสงบ มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น
3. มีที่ว่างส่วนตัวของนักเรียนแต่ละคน และมีพื้นที่ของนักเรียนทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็กสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ มีที่ว่างสำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ
4. ลักษณะที่นั่งของนักเรียนเป็นแถว เพื่อความสะดวกในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาการ
5. การจัดที่นั่งลักษณะเป็นกลุ่ม จะทำให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
6. การจัดชั้นเรียนในบริเวณที่จำกัดและมีการใช้อย่างหนาแน่น เช่น บริเวณที่เหลาดินสอ ที่วางถังขยะหลังห้อง ตลอดจนส่วนที่จะให้นักเรียนถูกรบกวนโดยง่าย ครูควรจัดให้นักเรียนนั่งห่างออกไป
7. ครูและนักเรียนทั้งชั้นเรียนควรมองเห็นกันและกันอย่างชัดเจน
8. ควรจำกัดสิ่งเร้าทางการมองเห็นและการได้ยินที่จะมารบกวนความสนใจและพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถดำเนินงานในชั้นเรียน
9. การจัดที่นั่งสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ควรให้นั่งอยู่ใกล้กับครูจะทำให้เกิดผลดี เพราะทำให้ครูจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้
10. การจัดชั้นเรียนทางกายภาพที่เป็นระเบียบเรียบร้อยจะมีประโยชน์และทำให้เกิดพลัง เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ใบงานที่ 9






บุคคลที่คุณคิดว่าเป็นผู้นำในทัศนคติของคุณ

ปราชญ์ชาวบ้าน

ประยงค์ รณรงค์



ประวัติส่วนตัว
วัน เดือน ปีเกิด วันที่ 24 สิงหาคม 2480 สถานที่เกิด บ้านเลขที่ 47 หมู่ที่ 5 ต.นากะชะ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช บิดา มารดา นายห้วง นางแจ้ง รณรงค์ มีพี่น้องรวม 6 คน
นายประยงค์ รณรงค์
นายประยูร รณรงค์
นางเกษร รัตนะ
นายวิโรจน์ รณรงค์
นายปรีชา รณรงค์
นายเชาวลิต รณรงค์
คู่สมรส ภรรยาชื่อ นางแนบ รณรงค์ มีบุตร ธิดา รวม 5 คน
นายเนาวรัตน์ รณรงค์
นายนรินทร์ รณรงค์
นางจริยา โชคประสิทธิ์
นายสาธิต รณรงค์
นาวสาวสุนิสา รณรงค์
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 51 หมู่ 9 ต.ไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช 80260 โทรศัพท์ 0819560865 อาชีพ อาชีพหลัก ทำสวนยางพารา อาชีพรอง ทำสวนผลไม้ (สวนสมรม) อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ (ปลา,ไก่พื้นเมือง)
การศึกษา
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านนาเส ม.5 ต.นากะชะ อ.ฉวาง
ประวัติการศึกษาและการศึกษาดูงาน
-ศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ปี พ.ศ. 2528 เป็นเวลา 12 วัน
-ศึกษาดูงานด้านสหกรณ์ อุตสาหกรรมชุมชน และเกษตรกรรม ในประเทศฝรั่งเศส – เยอรมนี - เบลเยี่ยม ในปี พ.ศ.2534 เป็นเวลา 30 วัน
-ศึกษาดูงาน “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” จังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ.2544 เป็นเวลา 4 วัน
-ร่วมคณะสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ลาว กัมพูชา ปี พ.ศ.4545 เป็นเวลา 3 วัน
-ศึกษาดูงานในประเทศฟิลิปปินส์ ขณะเดินทางไปรับรางวัลรามอน แมกไซไซ ปี พ.ศ.2547 เป็นเวลา 7 วัน
-ศึกษาดูงาน ณ ประเทศภูฏาน ปี พ.ศ.2549 เป็นเวลา 5 วัน
ผลงาน
พ.ศ.2530 ผู้นำอาชีพก้าวหน้าของกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.2537 คนดีศรีสังคม
พ.ศ.2540 เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมไทย
พ.ศ.2544 ได้รับการยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1 ของ สกศ.
ประสบการณ์การทำงาน
ปี พ.ศ.2527 เป็นผู้นำการก่อตั้งกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางตำบลไม้เรียง
ปี พ.ศ.2530 - 2534 เป็นผู้จัดการกลุ่มเกษตรทำสวนยางไม้เรียง
ปี พ.ศ.2535 - 2547 เป็นประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางไม้เรียง
ปี พ.ศ.2535 - ปัจจุบัน เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง
ปี พ.ศ.2536 เป็นประธานเครือข่ายยมนา (ยาง,ไม้ผล,นาข้าว)
ปี พ.ศ.2539 เป็นผู้นำจัดทำแผนแม่บทชุมชนไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
ปี พ.ศ.2540 เป็นผู้นำจัดทำแผนแม่บทการพัฒนายางพาราไทย ฉบับประชาชน
ปี พ.ศ.2541 – 2545 เป็นกรรมการบริหารกองทุนเพื่อสังคม (SIF)
ปี พ.ศ.2541 – 2547 เป็นประธานบริษัทเครือข่ายผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (วิสาหกิจชุมชน)
ปี พ.ศ.2544 – 2546 เป็นกรรมการบริหารโครงการเกษตรกรรมยั่งยืน (DANCED)
ปี พ.ศ.2544 – 2547 เป็นอนุกรรมการประสานงานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
ปี พ.ศ.2544 – ปัจจุบัน เป็นกรรมการบริหารวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.)
ปี พ.ศ.2546 – ปัจจุบัน เป็นกรรมการมูลนิธิหมู่บ้าน
ปี พ.ศ.2547 – ปัจจุบัน เป็นกรรมการมูลนิธิสถาบันพัฒนาทรัพยากรชุมชน
ปี พ.ศ.2548 เป็นประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยผู้นำชุมชนท้องถิ่น สำนักนายกรัฐมนตรี
ปี พ.ศ.2549 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คณะกรรมการสมานฉันท์)
ปี พ.ศ.2549 ได้รับการแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (กรรมาธิการการเกษตร ฯลฯ)

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 8




ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อๆ ตอบ สรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา จึงสรุปได้คือ ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ หรือองค์กรเอกชนทั่วไป จะนิยมใช้การเขียนโครงการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา ดังนั้นบุคลากรในหน่วยงานทุกคน ควรมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถเขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณได้ความหมายของโครงการ โครงการ คือเค้าโครงของกิจกรรมที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาตามความต้องการของหน่วยงาน มีลักษณะเป็นแนวทางการดำเนินงานที่บอกถึงความเป็นมา วิธีหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ทรัพยากรที่จะใช้ รวมถึงผลสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมองเห็นภาพตลอดแนวและมีทิศทางในการดำเนินงานเดียวกันองค์ประกอบของโครงการ โครงการมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนนำและส่วนโครงการ ซึ่งจะนำเสนอ ดังต่อไปนี้
1. ส่วนนำ ส่วนนำโครงการ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อให้เข้าใจว่า โครงการนี้ชื่ออะไร มีลักษณะอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการเมื่อไร โดยปกติจะอยู่ส่วนต้นของการเขียนโครงการ ประกอบด้วย
1.1 ชื่อโครงการ การเขียนชื่อโครงการควรบอกได้ว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร เรื่องอะไร กับใคร นิยมเขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำนาม วิธีการ และตามด้วยเรื่องที่จะทำ เช่น “ การประชุมปฏิบัติการเขียนแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 ” เป็นต้น
1.2 แผนงบประมาณ เป็นการระบุที่มาของงบประมาณ ว่าโครงการนี้ ขอใช้งบประมาณในแผนใด เช่น “เงินงบประมาณ เงินอุดหนุน เงินนอกงบประมาณ ”
1.3 สนองกลยุทธ์ เพื่อให้ทราบว่า โครงการนี้ดำเนินงานตามกลยุทธ์ข้อใดของหน่วยงาน เช่น “กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการของโรสงเรียนให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ”
1.4 ผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ระบุชื่อ สกุลของผู้รับผิดชอบโครงการ โดยจะระบุตำแหน่งด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น “นางแก้ว กัลยาณี หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม”
1.5 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรระบุ ถึงระดับงาน เช่น “งานแผนงาน โรงเรียนเตรียมอุดม ศึกษาพัฒนาการดอนคลัง”
1.6 ลักษณะของโครงการ โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท ได้แก่
1.6.1 โครงการใหม่ คือโครงการที่จัดทำขึ้นใหม่ ในปีนั้น และสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในปีงบประมาณเดียว
1.6.2.โครงการต่อเนื่อง คือโครงการที่มีลักษณะต่อเนื่องจากปีที่แล้วมา อาจเป็นโครงการที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ในปีเดียว หรือโครงการที่ต้องต่อยอดขยายผลไปสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ก็ได้ เช่น “ปีที่ผ่านมาอบรมอาสมาสมัครป้องกันยาเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีงบประมาณนี้ขยายผลโดยใช้รูปแบบและวิธีการเดิมกับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นต้น” หรือ “โครงการ 1อำเภอ 1โรงเรียน ในฝัน ที่มีการดำเนินงานเป็นช่วง ๆ เป็นต้น”
1.7 ระยะเวลาในการดำเนินงาน อาจเป็นระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนี้
1.7.1 ปีงบประมาณ นับตั้งแต่ 1 ตุลาคม ของปีนั้น จนถึง 30 กันยายน ของปีถัดไป
1.7.2 ปีการศึกษา นับตั้งแต่ วันที่ 16 พฤษภาคม ของปีนั้น จนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
2.ส่วนโครงการเป็นส่วนที่กล่าวถึง เนื้อหาของการจัดทำโครงการ ประกอบด้วย
2.1 หลักการและเหตุผล ควรบอกถึงความเป็นมา เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการนี้ ซึ่งอาจมาจาก
2.1.1 นโยบายของรัฐ นโยบายของหน่วยเหนือ หรือนโยบายของหน่วยงานเอง
2.1.2 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 สภาพปัญหา
2.1.4 ความต้องการในการพัฒนาควรเขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ประมาณ 15-25 บรรทัด และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการได้ นิยมเขียนโดยภาพกว้างก่อน เช่น นโยบาย หรือปัญหา แล้วจึงลงมา ถึงตัวโครงการ
2.2 วัตถุประสงค์ เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดของโครงการ ผู้อนุมัติโครงการจะพิจารณาความเหมาะสมของหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ต้องเขียนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ มีความเป็นไปได้ วัดได้ เช่น “ เพื่อให้คณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศ สำหรับการเรียนการสอนได้”
2.3 เป้าหมาย ปัจจุบันนิยมเขียนโดยระบุปริมาณหรือคุณภาพที่ต้องการขั้นต่ำ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของ จำนวน ร้อยละ หรือระดับคุณภาพ เช่น “จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้กับคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวง จำนวน 20 คน” หรือ “คณะครูโรงเรียน บ้านเปียงหลวง อย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถใช้ระบบเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ในระดับดี” เป็นต้น
2.4 กิจกรรม / ระยะเวลา มีรูปแบบการเขียนหลายแบบ อยู่ที่ว่าผู้เขียนโครงการจะเลือกใช้แบบใด เช่น ตาราง แบ่งเป็นข้อ แต่จะต้องแสดงกิจกรรม ขั้นตอน ระยะเวลา การทำงานตามลำดับ ให้เห็นว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เมื่อไร ผู้รับผิดชอบในแต่ละรายกิจกรรมคือใครไว้อย่างชัดเจน เพราะการเพิ่ม ลด งบประมาณจะพิจารณาเป็นรายกิจกรรม ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนขั้นตอนหรือกิจกรรมที่กว้างเกินไป เช่น
“1. เสนอโครงการ 2.อนุมัติโครงการ 3. ดำเนินการตามโครงการ 4.สรุปรายงานผล” เพราะการเขียนเช่นนี้จะไม่สามารถพิจารณาได้ว่าโครงการมีกิจกรรมอะไรบ้างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
2.5 งบประมาณ ต้องบอกรายละเอียดของการใช้งบประมาณแต่ละรายการให้ชัดเจนถูกต้อง เช่น ค่าห้องประชุม กี่วัน วันละเท่าไร ค่าอาหารว่าง หรืออาหารกลางวัน กี่คน กี่วัน คนละเท่าไร ค่าเอกสารกี่เล่ม เล่มละเท่าไร รวมแล้วทั้งหมดเป็นงบประมาณที่จะขอใช้เท่าใด และต้องแยกรายการงบประมาณให้ถูกต้องตามหมวดค่าใช้จ่ายด้วย ได้แก่- ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่าอาหารทำการนอกเวลา เป็นต้น- ค่าใช้สอย เช่น ค่าจ้างเหมาบริการ เช่น อาหารว่าง อาหารกลางวัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าที่พัก เป็นต้น- ค่าวัสดุ เช่น วัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรม และใช้ในการประชุม เช่น กระดาษ กรรไกร กาว แฟ้มเอกสาร เป็นต้น
2.6 การประเมินผล เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ทราบว่าโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบของการประเมินผล มีดังนี้- ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป็นตัวตอบคำถามว่าจะวัดความสำเร็จของโครงการจากอะไร เช่น จำนวน ร้อยละ หรือเวลา เช่น “ร้อยละของคณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการที่สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศได้ในระดับดี” เป็นต้น- วิธีการ ใช้วิธีการใดในการประเมินผลโครงการ เช่น การสำรวจความคิดเห็น การสังเกต การทดสอบ เป็นต้น- เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ควรสอดคล้องกับวิธีการ เช่น แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสำรวจความพึงพอใจ แบบสังเกต แบบทดสอบ เป็นต้น
2.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ต้องเขียนให้เห็นว่าจากการทำโครงการนี้จะมีผลประโยชน์ใดเกิดขึ้นบ้าง อาจเป็นผลในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือผลลัพธ์ก็ได้ เช่น “เมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวงใช้เครือข่ายสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนแล้วจะสามารถยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้”ลักษณะของโครงการที่ดี1. ต้องสอดคล้องและสนองต่อแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน2. กระชับ ไม่เยิ่นเย้อควรอยู่ระหว่าง 3-7 หน้า
3. ใช้ภาษาที่เป็นทางการและเข้าใจได้ง่าย
4. มีความเป็นไปได้
5. วัดและประเมินผลได้
6. มีองค์ประกอบครบถ้วน
7. ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
8. คุ้มค่า
9. แก้ไขปัญหาได้จริง
10. สำเร็จตามเวลาที่กำหนดจากการทำแผนปฏิบัติการของโดยทั่ว ๆ ไป มักพบจุดอ่อนหลาย ประการ เช่นการกำหนดวัตถุประสงค์มักพบว่ามีหลายข้อ จนตรวจสอบได้ยากว่ากิจกรรมใด หรือ ขั้นตอนใด จะบรรลุวัตถุประสงค์ใดการกำหนดเป้าหมายมักพบว่าเป็นเป้าหมายที่วัดความสำเร็จไม่ได้ หรือวัดได้ยากขั้นตอนการดำเนินงานมักเป็นแผนปฏิบัติการ เพื่อไปวางแผนปฏิบัติการอีกทอดหนึ่งกล่าวคือ แผนปฏิบัติการ จะนำเอากระบวนการ P-D-C-Aไปเขียนเป็น ขั้นตอนการปฏิบัติการ เช่น1. ขออนุมัติโครงการ2. วางแผนปฏิบัติการ3. ปฏิบัติการตามแผน 4. สรุปรายงาน เป็นต้นการกำหนดวันปฏิบัติการมักพบว่าเป็นการกำหนดเวลาอย่างกว้างๆ เช่น “ตลอดภาคเรียน” หรือ “ตลอดปี” จนไม่ชัดเจนว่าจะทำอะไร เมื่อไรการกำหนดผู้รับผิดชอบ ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ หมายเลข 1 เพราะระบุว่า “กลุ่มสาระ.......”หรือ “งาน.............”หากจะสรุปสภาพโดยรวมของแผนปฏิบัติการของโรงเรียนโดยทั่วไป ก็คือ ยังหย่อนความเป็นระบบระเบียบ และความชัดเจน แนวปฏิบัติในการพัฒนาแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเพื่อให้แผนปฏิบัติการของโรงเรียน เป็นแผนปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีตัวชี้วัดคุณภาพ ดังนี้
1. เป็นแผนปฏิบัติการที่อยู่ในกรอบกลยุทธ์ ที่มั่นใจแล้วว่าจะผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
2. เป็นแผนปฏิบัติการที่ไม่มีจุดอ่อนทั้ง 5 ประการ ดังกล่าวข้างต้น
3. เป็นแผนปฏิบัติการที่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วว่า จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนหรือ นำไปสู่การแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนการสอนสำหรับการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา ควรมีนั้นคือภารกิจพัฒนาโรงเรียน
1. ด้านบุคลากร- ปรับกระบวนทัศน์บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย- พัฒนาครูและผู้บริหารการศึกษา
2. ด้านพัฒนางานวิชาการ- พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา- การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม- พัฒนาสื่อการเรียนรู้
3. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. ด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการ
5. ด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภูมิทัศน์สิ่งที่โรงเรียนต้องการพัฒนา
2.1 พัฒนาครู ให้เป็นผู้มีความรู้ และสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
2.2 พัฒนาระบบการจัดการข้อมูล สารสนเทศ การใช้ข้อมูลต่างๆ ที่เอื้อต่อการทำงานของบุคลากร และการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
2.3 พัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอันจะก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning
2.4 พัฒนาโรงเรียน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นที่ยอมรับ ศรัทธา และเป็นต้นแบบของโรงเรียนอื่นและชุมชน
2.5 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ที่เข้มแข็งของผู้ปกครองและชุมชน

สรุปรายงานจากกลุ่มที่ 10 เรื่องการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

1. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาคืออะไรแผนพัฒนาคุณภาพศึกษาเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับชุมชน โดยคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทที่จะกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะดำเนินงานตามข้อตกลงที่กำหนดร่วมกันนั้น

ใบงานที่ 7



ใบงานที่ 7 การตกแต่งเวบบอร์ดให้สวยงามและน่าสนใจ
1.การใส่ปฏิทินในเวบบอร์ด
- ค้นหาโค้ดปฏิทินจากเวบgoogle พิมพ์คำว่า code ปฏิทิน
- เลือกเวบที่เกี่ยวข้องเลือก รูปแบบปฏิทินที่ชอบแล้ว copy code
- เปิดบล็อกของตนเองเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน2.การใส่นาฬิกา
- ค้นหาโค้ดนาฬิกาจากเวบgoogle พิมพ์คำว่า code นาฬิกา
- เลือกเวบที่เกี่ยวข้องเลือก รูปแบบนาฬิกาที่ชอบแล้ว copy code
- เปิดบล็อกของตนเองเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน3.การทำสไลด์
- เข้าwww.slide.com เพื่อสมัครสมาชิก
- เข้าสู่ระบบ โดยการใส่ username และ password ที่ได้สมัครไปข้างต้น
- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วคลิ๊กสร้างการแสดงภาพสไลด์ จากนั้นไปที browse เพื่อเพิ่มรูปภาพที่ต้องการ ซึ่งภาพนี้อาจอยู่ในเครื่องคอมพวิเตอร์ของท่านหรือจากเวบที่ท่านทำการฝากรูปไว้ ทำการ upload รูป
- ปรับตกแต่งให้สวยงามตามความต้องการโดยเลือกรูปแบบ หลากหลาย ขนาด เอ๊ฟเฟกต่างๆ ตามใจชอบ เมื่อเลือกได้ตามที่ต้องการ ให้บันทึก เพื่อรับรหัส code จากนั้น copy code ที่ได้ไปวางไว้ในส่วนของบทความใหม่ หรือใน Gadget ก็ได้. เสร็จแล้ว คลิ๊ก บันทึก เพื่อยืนยันเกร็ดเล็กๆน้อยๆ....หากท่านเข้าเวบwww.slide.comแล้วพบว่าเป็นภาษาอังกฤษ อย่างเพิ่งตกใจ ให้เลื่อนเม้าส์ไปด้านล่างจะมีเมนูให้ท่านเปลี่ยนภาษาได้ .....4. การปรับแต่งสีใน blog
- เปิด blog ของตัวเอง เข้าไปในส่วนของ รูปแบบ จากนั้น คลิ๊ก แบบอักษรและสี สามารถเลือกปรับแต่งสี ในส่วนต่างๆของหน้า blog เมื่อเลือกเสร็จให้คลิ๊ก บันทึกการเปลี่ยนแปลงเพื่อยืนยันเกร็ดเล็กๆน้อยๆ หากท่านเปลี่ยน template ของบล็อก การปรับแต่งสีเป็นสิ่งสำคัญ5. การใส่เพลง - เข้าเวบ
http://happyvampires.gmember.com/home.php?1402 - เลือกเพลงที่ชื่นชอบ copy embed เพื่อนำ code ที่ได้ไปวางไว้ในบล็อกตนเอง- เข้าบล็อกตนเอง ไปวางในส่วนของบทความใหม่

ใบงานที่ 6




ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็น
ดังนี้
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
ตอบ จากความหมายของคำว่า “วัฒนธรรม” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายว่าหมายถึง “พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิต สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน”
ดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรก็คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ตอบ เพราะการใช้ชีวิตในเเต่ละภาคย่อมมีความเเตกต่างกันไป แต่สำหรับสามจังหวัดภาคใต้เราควรมีลักษณะที่จะมีศึกษา ดังนี้
1.ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลศาสนาที่ประชาชนในที่นั้นนับถือ
2.ศึกษาลักษณะอาชีพส่วนใหญ่ในพื้นที่
3.ศึกษาประเพณี วัฒนธรรมที่มีในพื้นที่
4.ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมความเป็นอยู่
3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การที่จะทำให้เกิดวัฒนธรรมของการทำงานเป็นทีมได้นั้นเราต้องมีหลักดังต่อไปนี้
1.รับฟังมุมมองที่แตกต่าง ไม่อคติ มีใจเป็นกลาง มีเหตุผล ไม่คิดว่า ความคิดของตนเองถูกแล้ว ดีแล้วเสมอ ไม่คิดว่า ความคิดของคนอื่นผิด หรือ ผิดทั้งหมดเสมอ ไม่พูดจาหรือแสดงออกที่เป็นการดูถูกผู้อื่น
2.ไม่ตีกรอบการทำงานของตัวเอง แต่จะพิจารณาถึงเป้าหมาย / หลักการ ถ้าเป็นการเพิ่ม Performance ให้กับตัวเองและส่วนรวม จะลองเอาไปคิดและทำดู
3.ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นยอมรับและหาวิธีการที่ผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(ไม่เอาแพ้ – ไม่เอาชนะกัน)
4.ไม่หนีปัญหา แต่จะจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา
5.ไม่คิดว่า เคยทำอย่างไรมา ก็จะต้องทำอย่างนั้นตลอดไป โดยไม่ดูข้อมูลหรือ ปัจจัยที่เปลี่ยนไป (ไม่ใช่อะลุ่มอล่วยด้วยความรู้สึกเห็นใจ) หากทีมใดกลุ่มใดมีหลักการข้างต้นแล้วจะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีและทำให้การทำงานเป็นทีมนั้นประสบความสำเร็จ
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การเรียนรู้นับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้ในองค์การมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการ เป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งแนวคิดและหลักการของการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์การที่สำคัญมีดังนี้
1.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ ( learning ) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากการฝึกหัดหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งอย่างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
2.หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ทฤษฎีการเรียนการสอนของผู้ใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้ใหญ่แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ ทฤษฎีดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อ4ประการ คือ• มโนทัศน์ของผู้เรียน ( Concept of the Learner )• บทบาทของประสบการณ์ของผู้เรียน ( Roles of Learners Experience )• ความพร้อมที่จะเรียนรู้ ( Readiness to Learn )• การนำไปสู่การเรียนรู้ ( Orientation to Learning )
3.ประเภทของการเรียนรู้ประเภทของการเรียนรู้สามารถจำแนกประเภทของการเรียนรู้ออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การเรียนรู้โดยการจำ เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามจะรวบรวมหรือเก็บเนื้อหาสาระจากสิ่งที่ต้องการจะเรียนให้ได้มากที่สุด
2. การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดนที่ผู้เรียนพยายามลอกเลียนแบบ หรือกระทำตามต้นแบบที่ตนเห็นว่าดีหรือเป็นประโยชน์แก่ตน
3.การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ขั้นตอนของการเรียนรู้ประเภทนี้จะเดขึ้น 3 ขั้นดังนี้• ผู้เรียนมองเห็นหรือมีปฏิกิริยาต่อส่วนรวมของสถานการณ์ทั้งหมดก่อน• ผู้เรียนแยกแยะส่วนรวมเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของส่วนย่อยนั้นๆ• ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสถานการณ์นั้นอย่างแจ่มแจ้งเรียกว่า เกิดการหยั่งรู้ ( insight )
4.การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามใช้ทางเลือกหลายๆ ทางเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น
5.การเรียนรู้โดยการสร้างมโนคติ การเรียนรู้โดยการสร้างความคิดรวบยอดนั้นเกิดจากการทีผู้เรียนมองเห็นลักษณะรวมของสิ่งนั้นก่อน ต่อจากนั้นจึงพิจารณาลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นต่อไป